
สวัสดีค่ะ ผู้ชมทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม weblog นี้
ข้าพเจ้า นางสาวพรสะอาด ศรีมาราช นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาคอมพิวเตอร์ศึกษา
ได้จัดทำบล็อกนี้ขึ้นเพื่อเป็นสื่อการเรียนการสอน ในรายวิชา
นวัตกรรมเทคโนโลยีและสารสนเทศทางการศึกษา ซึ้งผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่า weblog
นี้จะให้ความรู้และเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านทุกๆท่านค่ะ^^
หน่วยการเรียนที่ 1 แนวคิด ทฤษฎี ความหมายความสำคัญของนวัตกรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศการศึกษา
โครงการสอน
PC54505 วิชานวัตกรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศทางการศึกษา 3(2-2-5)
(Innovation,
Technology and Information in Education)
อาจารย์ผู้สอน ผศ.ดร.วิวรรธน์ จันทร์เทพย์
คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
ภาคเรียนที่ 1 / 2556
-----------------------------------------------------------------------------------------
คำอธิบายรายวิชา
ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี
นวัตกรรม
เทคโนโลยีและสารสนเทศทางการศึกษา
ที่ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้
การวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดจากการใช้นวัตกรรม เทคโนโลยี
และสารสนเทศ แหล่งเรียนรู้ การสร้าง
การออกแบบ การนำไปใช้ การประเมินผล
การปรับปรุงนวัตกรรม สามารถเลือกใช้ ออกแบบ
สร้าง ปรับปรุงนวัตกรรม
เทคโนโลยีและสารสนเทศสำหรับการจัดการเรียนรู้ในรายวิชาที่จะรับผิดชอบสอนในอนาคตได้อย่างเหมาะสมสอดคล้องกับระดับการศึกษา
ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดี สามารถแสวงหาแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย และเพื่อส่งเสริมการเรียนรุ้ของผู้เรียน
วัตถุประสงค์
เมื่อผู้เรียนศึกษาเนื้อหากิจกรรมในบทเรียนแล้วจะมีความสามารถหรือพฤติกรรมอังนี้
1. อธิบายความหมาย ความสำคัญ หลักการ และแนวคิดนวัตกรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศทางการศึกษาได้
2. อธิบายบทบาท คุณค่า ประเภท
และประโยชน์ของนวัตกรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศการศึกษาได้
3. อธิบายความสัมพันธ์ของนวัตกรรม เทคโนโลยี และสารสนเทศทางการศึกษาได้
4. บอกขั้นตอนของการเกิดนวัตกรรม
และเปรียบเทียบความแตกต่างกับเทคโนโลยีได้อย่างชัดเจน
5. บอกความหมาย
ขั้นตอนและกระบวนการของการเรียนรู้
การรับรู้ตามธรรมชาติของผู้เรียนแต่ละวัยได้
6. วิเคราะห์สาเหตุในการนำนวัตกรรม
เทคโนโลยีและสารสนเทศมาใช้ในการปัญหาทางการศึกษาได้
7. ยกตัวอย่างนวัตกรรม เทคโนโลยี
และสารสนเทศทางการศึกษาในยุคปัจจุบันได้
8. ออกแบบและสร้างสรรค์นวัตกรรม เทคโนโลยี
และสารสนเทศทางการศึกษาได้
9. ปรับปรุงและเลือกใช้นวัตกรรม เทคโนโลยี
และนวัตกรรมทางการศึกษากับการเรียนการสอนได้
10. ประเมินผลนวัตกรรม เทคโนโลยี
และสารสนเทศทางการศึกษาได้
11. ระบุและเสนอแนะแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับนวัตกรรม เทคโนโลยี
และสารสนเทศทางการศึกษาได้
12. ออกแบบการเรียนการสอนในรายวิชาที่จะรับผิดชอบสอนในอนาคตได้
เนื้อหาบทเรียน
หน่วยการเรียนที่ 2 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
หน่วยการเรียนที่ 3 สื่อการเรียนการสอน
หน่วยการเรียนที่ 4 วิธีระบบ
หน่วยการเรียนที่ 5จิตวิทยาการเรียนการสอน
หน่วยการเรียนที่ 6การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้
หน่วยการเรียนที่ 7คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
(CAI)
หน่วยการเรียนที่ 8 หนังสืออีเล็กทรอนิกส์(e-Book)
หน่วยการเรียนที่ 9 สื่อมัลติมีเดีย (Multi-Media)
หน่วยการเรียนที่ 10 การเรียนการสอนแบบผสมผสาน
กิจกรรมการเรียนการสอน
1. รูปแบบการสอนเป็นการเรียนการสอนแบบผสมผสาน(blended learning)ระหว่าง การเรียนการสอนในห้องเรียนปกติ(Face-to-Face or
Traditional Classroom) กับ การเรียนการสอนบนออนไลน์โดยใช้เว็บบล็อก (Online Learning
with Weblog)โดยใช้อัตราส่วน 39% - 79%
2. เทคนิควิธีสอน
2.1
การบรรยายประกอบสื่อการเรียนการสอน
2.2
การมอบหมายงาน การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง
2.3
การทำงานเป็นกลุ่มด้วยการแสดงความคิดเห็น
- การซักถาม
- การอภิปราย
- การทำแบบฝึกหัด
การบูรณาการกับความพอเพียง
ความมีเหตุผล
ความพอประมาณ
ภูมิคุ้มกันในตนเองที่ดี
- เงื่อนไขความรู้ : รอบรู้ รอบคอบ
ระมัดระวัง
คุณลักษณะที่พึงประสงค์
ผู้เรียนที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชานี้จะต้องเป็นผู้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์สำคัญได้แก่ ความซื่อสัตย์
โดยแสดงออกอย่างบูรณาการอย่างสัมพันธ์กับพฤติกรรมต่างๆไปพร้อมๆกับกิจกรรมการเรียนการสอนทุกขั้นตอน เช่น
-
ความรับผิชอบและตรงต่อเวลาในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนการสอน
-
มีความรักความสามัคคีในกลุ่มผู้เรียนร่วมวิชาเอกเดียวกันและวิชาเอกอื่นๆ
- ให้ความช่วยเหลือผู้อื่นด้วยเจตนาที่บริสุทธิ์
- ใฝ่ดี
ใฝ่รู้ สู้งาน
- มีความคิดสร้างสรรค์
- มีระเบียบวินัยในการแต่งกาย
การวัดและประเมินผล
1. การวัดผล
1.1 การเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนการสอน(คุณลักษณะที่พึงประสงค์) 10 %
1.2 เอกสารรายงาน การแสดงความคิดเห็นและการประเมิน
(รายบุคคล) 10 %
1.3 เว็บบล็อก (รายบุคคล) 20 %
1.4 เว็บบล็อก (กลุ่ม) 20
%
1.4 การนำเสนอผลงานการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีกับการเรียนการสอน 20 %
1.5 สอบปลายภาค 20
%
ระดับคะแนน 80 – 100 ค่าระดับคะแนน A
ระดับคะแนน 75 – 79 ค่าระดับคะแนน B+
ระดับคะแนน 70 – 74 ค่าระดับคะแนน B
ระดับคะแนน 65 – 69 ค่าระดับคะแนน C+
ระดับคะแนน 60 – 64 ค่าระดับคะแนน C
ระดับคะแนน 55 – 59 ค่าระดับคะแนน D+
ระดับคะแนน 50 – 54 ค่าระดับคะแนน D
ระดับคะแนน 0 – 49 ค่าระดับคะแนน E